Language :Thai (ภาษาไทย)English (United Kingdom)ChineseFrenchJapaneseKoreanRussian


Validate the code with the W3C
Validate the code with the W3C
Link Exchange
สุขภาพฟัน-กุญแจสำคัญสู่ความเข้าใจในโรคหัวใจ
Share

กุญแจสำคัญสู่ความเข้าใจในโรคหัวใจ

good teeth

www.coconut-virgin.com

 

เกษตรกรที่เฉลียวฉลาดคนหนึ่งเมื่อซื้อมาจะตรวจดูปากของม้าเสมอ เขารู้ว่าสุขภาพของปากของสัตว์สะท้อนให้เห็นสุขภาพของร่างกายทุกส่วน ในความคิดของเขาไม่มีเกษตรกรคนไหนจะจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อสัตว์ที่มีฟันไม่ ครบหรือมีอาการเจ็บเหงือก ปัญหาเกี่ยวกับฟันเป็นสัญญาณบอกให้รู้ถึงสุขภาพอื่นๆด้วยเช่นเดียวกับมนุษย์ ข้อเท็จจริงนี้ได้รับการยอมรับมานานแล้ว และเป็นจุดเริ่มต้นของทฤษฏีการติดเชื้ออันเก่าแก่ในด้านทันตกรรม  ตามทฤษฏีนี้เชื้อโรคในช่องปากสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของร่างกายทั้งหมด ตามหลักการของทฤษฏีนี้ ในสมัยก่อนทันตแพทย์จะถอนฟันที่มีปัญหาทั้งหมดเพื่อป้องกันการแพ่รกระจายของ เชื้อโรคไปสู่ส่วนอื่นๆของร่างกาย กลางศตวรรษที่ 20 วิทยาการทางด้านทันตกรรมมีการพัฒนาขึ้น ฟันได้รับการซ่อมแซมโดยไม่ต้องถูกถอนออก และทฤษฏีติดเชื้อได้ถูกลืมเลือนไป อย่างไรก็ตามการซ่อมแซมฟันไม่ได้ยุติ ความเกี่ยวพันกันระหว่างสุขภาพฟันกับสุขภาพร่างกาย ผู้คนสามารถมีฟันที่สวยงาม แต่ก็ยังคงมีปัญหาโรคเกี่ยวกับฟันเกิดขึ้นซ้ำๆเช่นเดียวกับปัญหาสุขภาพอื่นๆ ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ทฤษฏีการติดเชื้อได้ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้ง สุขภาพในช่องปากที่ไม่ดีถูกนำมาเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพอื่นๆ มากมาย รวมไปถึงโรคเบาหวานและโรคแผลพุพอง แต่ความสัมพันธ์ที่น่าสนใจที่สุดคือ โรคที่มีผลต่อหัวใจและหลอกเลือด เช่น โรคหัวใจ เส้นเลือดในสมองแตก และภาวการณ์สะสมของไขมันบนผนังของหลอดเลือดแดง

จากการวิจัยมากมายพบว่าผู้ป่วยโรคหัวใจมีปัญหาฟันมากกว่าและมีอัตราการเป็น โรคเหงือกที่สูงกว่า ในทางกลับกันผู้ป่วยที่มีสุขภาพฟันไม่ดีนั้นก็จะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้มาก การวิจัยนี้ได้มีการนำสุขภาพฟัน ของผู้ป่วยมาประเมินผลและตรวจสอบอยู่หลายปี เพื่อจะสรุปว่าผู้ที่มีสุขภาพฟันไม่ดีจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้มากกว่า ตัวอย่างเช่น ดอกเตอร์โรเบิร์ต เจ เจน โค ได้ทำการศึกษาผู้คนจำนวน 1,372 คน ที่มีอายุมากกว่า 10 ปี และพบว่า โรคหัวใจมักพบบ่อยในผู้ที่เป็นโรคเหงือกและผลงานวิจัยที่ตรวจสอบเกี่ยวกับ การบริโภคตามหลักโภชนาการที่ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ของอังกฤษเล่ม 306 หน้า 688-691 นั้นระบุว่า คนที่เกิดการอักเสบที่เหงือกเคยมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจสูงถึง 25% ซึ่งอัตราเสี่ยงที่เคยเพิ่มสูงขึ้นดังกล่าวนั้น ก็ยังคงสามารถพบเห็นได้ในปัจจุบัน จากการศึกษาค้นคว้าเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีหรือเคยมีการติดเชื้อทางฟันมีอัตราเสี่ยงสูงมากกว่า คนทั่วไปในการเป็นโรคหัวใจ

นักวิจัยบางคนเชื่อว่า แบคทีเรียภายในปากที่ก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับฟันสามารถเข้าไปในกระแสโลหิตได้ โดยแทรกซึมเข้าไปตามรอยฉีกขาดเล็กๆที่เหงือก และเมื่อแบคทีเรียเหล่านี้เข้าไปในระบบการไหลเวียนเลือด มันก็จะทำให้เกิดการอักเสบ ก่อให้เกิดลิ่มเลือด และการสะสมของหินปูนในเส้นเลือดแดงใหญ่ ซึ่งทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การเป็นโรคหัวใจได้ในเวลาต่อมาเช่นเดียวกับการสะสม ของไขมันบนผนังของหลอดเลือดแดง

ส่วนนักวิจัยบางคนเชื่อว่า แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจและโรคเหงือกได้ปรากฏอยู่ตามร่างกายของเรา เนื่องจากโภชนาการที่ไม่เหมาะสม และวิถีการดำรงชีวิตที่ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเสื่อมโทรมลง แบคทีเรียเหล่านี้จะปรากฏอยู่ในร่างกายของเราตลอดเวลา แต่หากร่างกายของเราแข็งแรงและมีสุขภาพดี แบคทีเรียก็จะไม่เพิ่มจำนวนจนเป็นที่มาของปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้อง สำหรับความคิดเห็นนี้ โรคเหงือกไม่ได้นำไปสู่การเป็นโรคหัวใจเสมอไป เพราะแบคทีเรียอาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากความบกพร่องของร่างกายในการควบคุม แบคทีเรียให้พอเหมาะกับความต้องการของร่างกาย

จากบทความข้างต้นนี้ ดูเหมือนว่า หากคุณมีสุขภาพฟันที่ดี มันก็เป็นไปได้ที่คุณจะมีระบบการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดที่ดีเช่น เดียวกัน แต่ Dr. Price เคยได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับคนบนเกาะแปซิฟิกซึ่งไม่เคยแปรงฟัน ไม่เคยใช้ไหมขัดฟัน ไม่เคยใช้น้ำยาบ้วนปากฆ่าเชื้อโรค และไม่เคยแม้แต่จะไปพบทันตแพทย์ แต่ทว่าพวกเขากลับมีสุขภาพฟันที่ดี ซึ่งนั่นเป็นเพราะว่าพวกเขารับประทานอาหารดั้งเดิมของพวกเขา ซึ่งมีมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลักอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นสุขภาพฟันที่ดีของคนบนเกาะ จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการไม่ปรากฏของโรคหัวใจและโรคอื่นๆตามมา ภายหลัง

 

ที่มา: The Coconut Oil Miracle โดย Bruce Fife, C.N., N.D. หน้า 53-54