Language :Thai (ภาษาไทย)English (United Kingdom)ChineseFrenchJapaneseKoreanRussian


Validate the code with the W3C
Validate the code with the W3C
Link Exchange
Share

ดเด่


สำคัญ :  การบริโภคน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ที่เหม็นหืนหรือเหม็นเปรี้ยวอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย...

หลายท่านอาจเข้าใจว่า ขอให้เป็นน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ก็สามารถรับประทานได้ โดยมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ทั้งนี้ทั้งนั้นเราไม่ควรรับประทานผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าวที่เหม็นหืนหรือเหม็นเปรี้ยว ซึ่งจะส่งผลเสียแก่ร่างกายมากกว่าผลดีที่ได้รับ



การบริโภคน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ที่เหม็นหืนหรือเหม็นเปรี้ยว

khjuk


oil



การเหม็นหืนและเหม็นเปรี้ยวนั้นเกิดจาก


1. ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) เกิดจากออกซิเจนในอากาศเข้าทำปฏิกิริยาตรงตำแหน่งพันธะคู่ระหว่างอะตอม คาร์บอนในโมเลกุลของกรดไขมัน ได้แอลดีไฮด์และกรดไขมันโมเลกุลเล็ก ๆ ซึ่งมีกลิ่นเหม็นหืนเกิดขึ้น


Oxidation Reaction

รูปที่ 1 :  กลไกการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน  (Oxidation Reaction)


กรดไขมันที่พบในน้ำมันมะพร้าวนั้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นกรดไขมันอิ่มตัวประมาณ 92% และกรดไขมันไม่อิ่มตัวประมาณ 8% ในส่วนกรดไขมันไม่อิ่มตัวนี้เองที่สามารถเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ส่งผลให้น้ำมันที่ได้เกิดการเหม็นหืนนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ การผลิตน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์จำเป็นที่จะต้องใช้ระยะเวลาในการผลิตให้สั้น ที่สุด สัมผัสกับอากาศน้อยที่สุด เพื่อคงความสด ความหอมของมะพร้าว และที่สำคัญคือ “ให้เกิดปฎิกริยา oxidation ให้น้อยที่สุดเท่าทีจะทำได้


          น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ เกรดพรีเมี่ยม ของทางเรา บริษัท น้ำมันมะพร้าวไทย จำกัด ผลิตจากกะทิสด ณ อุณหภูมิ 5 ถึง 0 องศาเซลเซียส เพียง 15 นาที จากกะทิสดกลายเป็นน้ำมัน โดยยังคงความสดและคุณสมบัติตามธรรมชาติไว้ได้อย่างครบถ้วน บรรจุลงภาชนะปิดมิดชิด ผลิตด้วยวิธีการเหวี่ยงแยก (Centrifuge Process) และเทคนิค ความเชี่ยวชาญเฉพาะของทางเรา ทำให้ได้น้ำมันที่มีคุณภาพดีที่สุดแก่ผู้บริโภค



2. ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส (Hydrolysis Reaction) เกิดจากกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวกับน้ำ โดยมีเอนไซม์จากจุลินทรีย์ในอากาศเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้ผลิตภัณฑ์เป็นกรดไขมันโมเลกุลเล็กที่ระเหยง่ายและมีกลิ่นเหม็น


Hydrolysis Reaction

รูปที่ 2 :  กลไกการเกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส (Hydrolysis Reaction)


น้ำมันมะพร้าวที่เกิดการเหม็นหืนและเห็นเปรี้ยวนั้น อีกสาเหตุหนึ่ง เกิดจากในน้ำมันมะพร้าวนั้นมี น้ำ เป็นส่วนประกอบ ทำให้จุลินทรีย์ที่อยู่ในอากาศ สามารถเข้าไปทำปฏิกิริยาได้โดยง่าย โดยไตรกลีเซอไลด์จะถูกทำปฏิกิริยากลายเป็นกรดไขมันอิสระ (free fatty acid) ขึ้น


          น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ เกรดพรีเมี่ยม ของทางเรา บริษัท น้ำมันมะพร้าวไทย จำกัด ผลิตด้วยวิธีการเหวี่ยงแยก (Centrifuge Process) หลักการทำงานคือ ใช้แรงหนีศูนย์กลาง ซึ่งอาศัยหลักการความแตกต่างกันระหว่างความหนาแน่นของสสาร (น้ำ น้ำมันมะพร้าว และตะกอนต่างๆ) โดยสสารที่มีความหนาแน่น (density) สูงกว่า ในที่นี้คือน้ำและตะกอนจะถูกเหวี่ยงแยกออก ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้ระยะเวลาอันสั้นในการผลิตและบรรจุ จึงส่งผลให้มีโอกาสปนเปื้อนต่ำและสามารถรักษาคุณภาพของน้ำมันมะพร้าวได้ดี ซึ่งวิธีการนี้สามารถแยกชั้นน้ำและตะกอนออกจากน้ำมันได้อย่างสมบูรณ์ น้ำมันที่ได้มีความเสถียรสูง ปริมาณความชื้นต่ำมาก ซึ่งทำให้ไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส อันส่งผลให้น้ำมันมะพร้าวมีกลิ่นเหม็นหืนและเหม็นเปรี้ยว


โทษของการบริโภคน้ำมันที่เหม็นหืนและเหม็นเปรี้ยว

เนื่องจากน้ำมันที่เหม็นหืน มีกรดไขมันอิสระในปริมาณสูงกว่าค่ามาตรฐานของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ ที่กำหนดให้ไม่เกิน 0.2% ดังนั้นเมื่อบริโภคเข้าไปจะส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดีที่จะได้รับ ดังนั้นหากน้ำมันของท่านเกิดการเหม็นหืนหรือเหม็นเปรี้ยวขึ้น ควรทิ้งเสีย อย่าเสียดายเด็ดขาด !


การป้องกันการเหม็นหืนและเหม็นเปรี้ยว

การเก็บน้ำมันโดยไม่ให้เกิดการเหม็นหืน หรือชะลอการเหม็นหืนให้ช้าที่สุดจะต้องเก็บในบริเวณที่มีอุณหภูมิไม่ควรเกิน 40 องศาเซลเซียสและต้องปิดฝาภาชนะให้สนิท ไม่ให้สัมผัสกับออกซิเจนและไอน้ำในอากาศเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันและปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส


ดเด่