Language :Thai (ภาษาไทย)English (United Kingdom)ChineseFrenchJapaneseKoreanRussian

GMP and HACCP


Validate the code with the W3C
Validate the code with the W3C
Link Exchange
น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์
Share

น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สกัดเย็น 100% ผลิตด้วยกรรมวิธีสกัดเย็น และกระบวนการเหวี่ยงแยก โดยไม่ผ่านความร้อนทุกขั้นตอนการผลิต มีกลิ่นหอมของมะพร้าวตามธรรมชาติ ความชื้นไม่เกิน 0.1%

น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์
น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ 100% เป็นน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์จากธรรมชาติ 100% ผลิตด้วยกรรมวิธีสกัดเย็น จากเนื้อมะพร้าวสด โดยไม่ผ่านความร้อน จึงทำให้สารอาหารที่มีอยู่ในน้ำมันมะพร้าวคงสภาพเดิมมากที่สุด เป็นน้ำมันมะพร้าวที่บริสุทธิ์ที่สุด สีใสเหมือนน้ำ มีกลิ่นหอมของมะพร้าวตามธรรมชาติ ไม่เหม็นหืน อุดมไปด้วยกรดลอริค (Lauric Acid) เป็นสารตัวเดียวกันที่พบในน้ำนมมารดาซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษในการเสริมสุขภาพความงาม อีกทั้งยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคอีกด้วย รวมทั้งมีวิตามินอี (Vitamin E) ในปริมาณสูงที่ให้ความชุ่มชื้นและช่วยต้านอนุมูลอิสระอีกทั้งยังเป็นน้ำมันพืชชนิดเดียวที่มีคุณสมบัติในการเสริมสุขภาพและความงามของมนุษย์มากที่สุดในบรรดาน้ำมันพืชทั้งหลาย สามารถใช้เป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและอุตสาหกรรมอาหาร



มหัศจรรย์น้ำมันมะพร้าว

khjuk

ต้นมะพร้าว


คุณสมบัติน้ำมันมะพร้าว

  น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่ได้จากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมีสังเคราะห์ใดๆเจือปน โดยเฉพาะสารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งมักจะมีเจือปนอยู่ในน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ เราสามารถใช้น้ำมันมะพร้าวในสภาพที่สกัดได้ตามธรรมชาติทันที โดยไม่ต้องทำให้บริสุทธิ์ ฟอกสี และกำจัดกลิ่น ดังเช่นน้ำมันพืชอื่นๆ จึงปลอดภัยจากอันตรายของสารเคมี น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติที่ดีเด่นที่ไม่มีในน้ำมันพืชอื่นใดในโลก ดังต่อไปนี้


1. เป็นกรดไขมันอิ่มตัว

          น้ำมันมะพร้าว ประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัว ประมาณ 92% ธาตุคาร์บอน (C) จับกันด้วยพันธะ (bond) เดี่ยว ไม่เปิดโอกาสให้ไฮโดรเจน (H2) และออกซิเจน (O2) แทรก ดังนั้น น้ำมันมะพร้าว “อิ่มตัว” ส่วนที่เหลือ (8%) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ที่ C บางตัว จับกันด้วยพันธะคู่ เปิดโอกาสให้ H2 และ O2 แทรกจึง “ไม่อิ่มตัว” ดูสูตรโครงสร้างของน้ำมัน ได้ดังภาพ


สูตรโครงสร้างของน้ำมันอิ่มตัว (บน) เปรียบเทียบกับน้ำมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (กลาง) และน้ำมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (ล่าง)


1.1 การเติมออกซิเจน (Oxidation) : เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ก่อให้เกิดความเสื่อมของโมเลกุล กล่าวคือ เกิดอนุมูลอิสระขึ้นมาจากผลของการเติมออกซิเจน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า “อนุมูลอิสระ” เป็นตัวการของการเกิดโรคแห่งความเสื่อมมากมาย

1.2 การเติมไฮโดรเจน (Hydrogenation) : เกิดจากการนำน้ำมันไม่อิ่มตัวไปถูกกับอุณหภูมิสูง เช่น ในการทอดอาหารในน้ำมันท่วม จึงเกิดเป็นสารตัวใหม่ชื่อว่า “ไขมันทรานส์ (Trans fats)” ซึ่งเป็นโมเลกุลที่เปลี่ยนรูปร่างไป และเกิดผลเสียต่อเซลล์ เช่น ทำให้เยื่อบุเซลล์บุบสลาย ทำให้เชื้อโรคหรือสารพิษเข้าไปในเซลล์ได้ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลง DNA ของเซลล์ นอกจากนั้น ยังเกิดจากการนำน้ำมันไม่อิ่มตัวไปเติมไฮโดรเจนเพียงบางส่วนในทางอุตสาหกรรม โดยต้องใช้ความดันและสารแคตาลิสต์เข้าช่วย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นน้ำมันไม่อิ่มตัวเปลี่ยนเป็นน้ำมันอิ่มตัว เพื่อจะได้ไม่เกิดการหืน (เพราะถูกเติมออกซิเจน) และทำให้น้ำมันอยู่ในรูปที่แข็งตัว ทำให้จับต้องผลิตภัณฑ์อาหารได้สะดวกไม่เหนียวเหนอะหนะ



2. เป็นกรดไขมันขนาดกลาง

          น้ำมันมะพร้าวมีองค์ประกอบส่วยใหญ่ (62.5%) เป็นกรดไขมันขนาดกลาง (Medium-Chain Fatty Acids – MCFAs) ร่างกายตอบสนองไขมันขนาดต่างๆแตกต่างกัน ทำให้น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติพิเศษในด้านการแพทย์และโชนาการ การเป็นกรดไขมันขนาดกลางมีข้อได้เปรียบ คือ


2.1 เปลี่ยนเป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็ว : น้ำมันมะพร้าวถูกดูดซึมและเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็วเมื่อบริโภคเข้าไป จะผ่านกระเพาะไปยังลำไส้ เข้าไปในกระแสเลือด แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานที่ตับอย่างรวดเร็ว (ภายในหนึ่งชั่วโมง) ทำให้ไม่เกิดเป็นไขมันสะสมในร่างกาย

2.2 เพิ่มอัตราเมตาบอลิสซึม : น้ำมันมะพร้าวช่วยเร่งอัตราเมตาบอลิสซึม (Metabolism) จากการเพิ่มประสิทธิภาพของต่อมธัยรอยด์ ผลของความร้อนที่เกิดขึ้น (Thermogenic Effect) เกิดขึ้นเป็นเวลานาน (กว่า 24 ชม.) จึงได้พลังงานมากขึ้นและมีอัตราเผาผลาญที่เร็วขึ้น นอกจากตัวมันเองจะถูกเผาผลาญในอัตราที่เร็วแล้ว ยังช่วยเผาผลาญอาหารที่รับประทานเข้าไปพร้อมกัน ทำให้ไม่ไปสะสมเป็นไขมัน อีกทั้งยังไปเผาผลาญไขมันที่สะสมไว้แต่เดิม ทำให้ร่างกายผอมลง



3. มีสารฆ่าเชื้อโรค

          น้ำมันมะพร้าวมีกรดลอริก (Lauric Acid; C=12) อยู่สูง (48-53%) เมื่อบริโภคเข้าไปในร่างกาย จะเปลี่ยนเป็นโมโนกลีเซอไรด์ ชื่อโมโนลอรินที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน และยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค Enig (1999) ได้รายงานว่าน้ำมันมะพร้าวสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รา ยีสต์ โปรโตซัว และแม้กระทั่งเชื้อไวรัส ผลงานวิจัยของ Dayrit (2000) พบว่า กรดลอริกและโมโนลอรินสามารถช่วยลดปริมาณของเชื้อไวรัส (HIV) ในคนไข้โรคเอดส์ได้ อย่างไรก็ตาม โมโนลอรินก็ไม่สามารถฆ่าจุลินทรีย์ได้ทุกชนิด จะฆ่าได้ก็เฉพาะเชื้อโรคที่มีเยื่อหุ้มเซลล์ที่เป็นไขมัน เช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่ โรคเริม คางทูม โรคซาร์ และโรคเอดส์ การที่โมโนลอรินไม่ฆ่าจุลินทรีย์ทุกชนิดก็เป็นข้อดี เพราะแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในกระเพาะจะไม่ถูกทำลาย        
         นอกจากกรดลอริกแล้ว น้ำมันมะพร้าวยังมีกรดไขมันขนาดกลางอีก 2 ตัว คือ กรดคาปริก (Capric Acid; C-10, 7%) และกรดคาปริลลิก (Capryllic Acid; C-8, 8%) ที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคได้เช่นกัน และต่างก็ช่วยเสริมกรดลอริกในการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเหล่านี้ก่อให้เกิดโรคแก่ร่างกาย หรือฆ่าเชื้อโรคเหล่านี้เมื่อปรากฏตัวขึ้น


4. มีสารแอนตีออกซิแดนต์

  น้ำมันมะพร้าวมีสารแอนตีออกซิแดนต์ (Antioxidant) หลายประเภททีมีประสิทธิภาพสูงและในปริมาณมาก สารเหล่านี้ทำหน้าที่ต่อต้านการเติมออกซิเจน (Oxidation) ที่เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่เปลี่ยนสภาพ เพราะสูญเสียอิเล็คตรอนในวงแหวนรอบนอก กลายเป็น “โมเลกุลเกเร” เที่ยวไปโจมตีโมเลกุลอื่นๆ โดยไปดึงอีเล็คตรอนจากโมเลกุลที่อยู่ใกล้เคียงตัวหนึ่ง และโมเลกุลนี้ก็ไปดึงอิเล็คตรอนจากโมเลกุลข้างเคียงอื่นๆต่อไป เกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ ทำให้เซลล์ผิดปกติ เช่น เยื่อบุเซลล์ฉีกขาด ผิวหนังเหี่ยวย่น เปลี่ยนสารพันธุกรรมในนิวเคลียส ทำให้เกิดการกลายพันธุ์อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อม ของร่างกายไม่ต่ำกว่า 60 โรค โดยเฉพาะโรคหัวใจ มะเร็ง ไขข้ออักเสบ เบาหวาน ภูมิแพ้ และชราภาพ
          อนุมูลอิสระเกิดจากมลพิษในสิ่งแวดล้อม และในอาหาร เครื่องดื่ม การสูบบุหรี่ ความเครียด ฯลฯ และโดยเฉพาะในน้ำมันไม่อิ่มตัว ซึ่งจะถูกเติมออกซิเจน (Oxidized) ได้โดยง่ายเพราะมีพันธะคู่ (Double Bond) ในโมเลกุลตั้งแต่เริ่มสกัด ตลอดจนระหว่างทางก่อนถูกนำไปบริโภค จึงเกิดเป็นอนุมูลอิสระได้ง่าย อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นนี้ไปลดสารแอนตีออกซิแดนต์ที่มีอยู่ในร่างกาย ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีทีทำให้เกิดผลเสียแก่เซลล์และเนื้อเยื่อ


ดเด่


ที่มา: หนังสือ "มหัศจรรย์น้ำมันมะพร้าว" โดย ดร. ณรงค์ โฉมเฉลา หน้า 6 - 10